วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
 วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

      การนำเสนอวิจัย







     งานวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
การศึกษาระดับ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัย  เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปีที่ทำวิจัย พ.ศ. 2554
 ผู้วิจัย สุภาวิณี  ลายบัว

บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 2 ศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
•เพื่อศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา
•เพื่อศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา
•เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริ
พัฒนาการเด็กปฐมวัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำข้อมูลมาเป็นข้อมูลในการให้ความรู้เพิ่มเติม หรือจัดกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพ
การวิจัยทำให้ทราบแนวทางในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1.ขอบเขตด้านประชากร คือ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ระดับชั้น1-2 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนในเขต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จำนวน 9 โรงเรียน จำนวนประชากร 1575 คน
2.ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้ศึกษากิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเด็กสำคัญได้แก่ 
การฝึกอบรม การประชุมผู้ปกครอง การให้การปรึกษา ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้าน และ
ศึกษาเรื่องความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 ด้าน 

สรุปผลการวิจัย
ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 10,000 บาท
การศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก ปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้
• ด้านการฝึกอบรม    ภาพโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ด้านการฝึกอบรมเป็นรายประเด็น พบว่าที่มีค่าสูงสุด เช่น การสร้างวินัยให้กับเด็ก, การแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก ฯลฯ โดยครูเป็นผู้ให้ความรู้ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนเคยมีการจัดการอบรมให้ความรู้แก่แก่ผู้ปกครองเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้
•ด้านการประชุมผู้ปกครอง      ภาพรวมโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการประชุมผู้ปกครอง เป็นรายประเด็น พบว่ามีค่าสูงสุด คือ โรงเรียนเคยมีการจัดการปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
รองลงมาคือโรงเรียนเคยจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองเพื่อดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกัน
ด้านการให้การศึกษา     ภาพโดยรวมของการศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการให้การปรึกษาโดยรวมกันอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยด้านการการปรึกษาเป็นรายประเด็น พบว่ามีค่าสูงสุด โรงเรียนได้ให้การปรึกษาเมื่อผู้ปกครองมีปัญหาเกี่ยวข้องกับตัวเด็กอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
•ควรศึกษาเชิงเปรียบเทียบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยระหว่างโรงเรียนอนุบาลเอกชนกับโรงเรียนอนุบาลของรัฐบาล
•ควรมีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสร้างรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่มาจากการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับทางโรงเรียนในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองโดยให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นวัฒนธรรมองค์ประกอบพื้นฐานของผู้ปกครอง
•ควรมีการศึกษาปัญหาอุปสรรคและผลการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้น
•ในการวิจัยครั้งนี้ตัวแปรการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนั้นผู้วิจัยได้เน้นเรื่องของรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองดังนั้นในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปอาจจะศึกษาในเรื่องสาระความรู้ที่ทางโรงเรียนจัดให้แก่ผู้ปกครอง

การประยุกต์ใช้
เราสามารถนำวิจัยที่เราทำไปประยุกต์กับการเรียนการสอนของเราได้

ประเมิน
ตนเอง
ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัย และถามข้อสงสัย
เพื่อน
เพื่อนๆทุกคนดูตั้งใจนำเสนอวิจัย และพูดจาดี
อาจารย์
ให้คำแนะนำงานวิจัยของแต่ละกลุ่มและช่วยยกตัวอย่างให้เราเข้าใจได้ง่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น