EAED3210การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน 2559
****งดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม****
บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
บทที่
4
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
วีดีโอ
"ไลท์นิ่ง ทอล์ค กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง" ตอน "
อ่านแต่เล็ก เด็กฉลาด สมรรถนะดี"
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
1.โครงการแม่สอนลูก
กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้
ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
อาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
2.โครงการ แม่สอนลูก
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
ให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน
ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน
แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
3.การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี
ใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
วิธีการสนทนากลุ่ม
วิธีอภิปรายกลุ่ม
วิธีการบรรยาย
4.โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
สำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ
แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
5.
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว
“บ้านล้อมรัก”
สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด
ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด”
สร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน
เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
6.โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546
โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน
ส่วนภาคเอกชน
เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน
โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน
ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ
ทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
7.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
กรมการพัฒนาชุมชน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน
วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่สมาชิกในครอบครัวเยาวชนในท้องถิ่น
เลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก โดยมีกิจกรรมดังนี้
การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป
8.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
กองสูตินารีเวชกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า
เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่
ใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส”
ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย
โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรส
จะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่
9.โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
สถานศึกษา รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัย
จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้เข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรม
สนับสนุนโครงการต่างๆที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง
โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ
จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
พ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย
ที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)
ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์
จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
. ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
การจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้ โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม
โครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี
ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก
ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม
สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ
รู้จักใช้วัวดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์
สอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี
4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง
วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูก
สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น
โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ
ก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับเด็ก
เมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผล
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว
จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ
1.
ความพร้อมที่จะเรียน พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
2.
การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ
1.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ
ดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO)
โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง
ภายใต้คำนิยาม
“การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education)
“โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ
“โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
- ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
- สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
- ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
2.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี
พ่อแม่มีรายได้น้อย
และบริการด้านสังคม
สำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ
พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
- เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
- ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
3.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่
คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ
เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
4.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536
ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก
ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ
โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก
โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
5.โครงการ Brooklyne Early Childhood
เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก
ดำเนินการโดย Brooklyne Public School
ได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก
จัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง
มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้
ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี
และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป
ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย
โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะ
หุ้นส่วน
ในการจัดการศึกษาปฐมวัย
และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน
1.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
มีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรอง
สามารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้หนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ
ปรัชญาในการทำงานคือ
“พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
2.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง
เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง
มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสาร
เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครองตลอดจนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผน จัดทำหลักสูตร การพัฒนาทักษะ การประเมินผลการเรียน และการประเมินผลการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง
3.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
ให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ
รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่าย
โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา”
พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง
การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ
การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก
การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center)
เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป
จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี
มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน
ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก”
มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน
โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง
โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544
ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย
ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก
สามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน
โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น
คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เพื่อให้ผูู้ปกครองเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก เรื่องพัฒนาการ การดูแล
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ
เกมการสื่อสาร
เกมสื่อความหมาย
: ตัวแทน 1 คน อ่านประโยคและทำท่า ส่งต่อจนครบ 5 คน
เกมทายคำ
: ตัวแทน 1 เป็นคนใบ้ 2 เป็นคนทาย 3 เป็นคนชูคำด้านหลัง
เกมพรายกระซิบ
: ตัวแทน 1 คน จำประโยค และบอกต่อจนครบ 5 คน
เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร่ อย่างไร กับใคร
: ตัวแทน 6 คน เขียน คนละ 5 ข้อ
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร
(Communication) : คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
ความสำคัญของการสื่อสาร
ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)
รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
สื่อ :
ใช้วิธีพูด เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
สาร :
คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อความบันเทิงใจ
3. เพื่อชักจูงใจ
ขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะ
คือ
3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
การสื่อสารกับตนเอง
การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
การสื่อสารสาธารณะ
มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การอมรม การสอนในชั้นเรียน
การสื่อสารมวลชน
ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ออเออร์บาค
(Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ความพร้อม
คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
ความต้องการ
คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข
อารมณ์และการปรับตัว
คือ แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ
การจูงใจ
คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
การเสริมแรง
คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
ทัศนคติและความสนใจ
คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ
ความถนัด
คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
7 C กับการสื่อสารที่ดี
Credibility
ความน่าเชื่อถือ
Content
เนื้อหาสาระ
Clearly
ความชัดเจน
Context
ความเหมาะสมกับโอกาส
Channel
ช่องทางการส่งสาร
Continuity consistency
ความต่อเนื่องและแน่นอน
Clarity of audience
ความสามารถของผู้รับสาร
คุณธรรมในการสื่อสาร
คุณธรรม คือ ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้อ่าน
เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ
กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา ความสำคัญทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ
เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ การสื่อสารโดยการให้ความหมายอย่างเข้าใจ ของ
ลาสแวลล์
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ
เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ
ความพร้อม คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข
อารมณ์และการปรับตัว คือ แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ
การจูงใจ คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ
ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำไปประยุกต์ใช้
-
สามารถนำเกมไปใช้สำหรับเข้าสู่บทเรียนสามารถใช้ทฤษฏีมาอ้างอิงพฤติกรรมผู้ปกครองเพื่อการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับเด็กให้ผู้ปกครองได้เข้าใจอย่างถูกต้อง
ประเมินผล
ตนเอง :
ได้ร่วมกิจกรรมและเกมที่อาจารย์นำมา สนุกสนานมาก
เพื่อน :
ร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ
อาจารย์ :
มีเกม กิจกรรม ให้มีส่วนร่วมทั้งชั้นเรียน
บันทึกการเรียนครั้งที่3
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2559
****อาจารย์ติดประชุม****
บทความที่ใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับมือถือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)