วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน 2559

****งดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม****

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
วีดีโอ "ไลท์นิ่ง ทอล์ค กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง" ตอน "อ่านแต่เล็ก เด็กฉลาด สมรรถนะดี" 



    บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

    โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย

    1.โครงการแม่สอนลูก

    •     กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
    •     จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
    •     ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้
    •     ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน 
    •     อาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล 
    •     เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก 
    2.โครงการ แม่สอนลูก
    •     ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
    •     ให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน 
    •     ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
    •     เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน
    •     แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
    •     มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
    3.การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

    •     เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 
    •     ต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี 
    •     ใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
    1.     วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
    2.     วิธีการสนทนากลุ่ม
    3.     วิธีอภิปรายกลุ่ม
    4.     วิธีการบรรยาย 
    4.โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
    •     สำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 
    •     เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย 
    •     ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ 
    1.     แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
    2.     คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    3.     หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
    4.     ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
    5.     จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
    5.โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
    •     สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด 
    •     ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” 
    •     สร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน 
    •     เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
    •     โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
    1.     ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
    2.     ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
    3.     สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
    4.     กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
    6.โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
    •     โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 
    •     โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 
    •     ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  
    •     ส่วนภาคเอกชนเริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  
    •     โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
    •     สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว 
    •     ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน
    •     ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ 
    •     ทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
    7.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
    •     กรมการพัฒนาชุมชน 
    •     กรมการศึกษานอกโรงเรียน 
    •     กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน 
    •     วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่สมาชิกในครอบครัวเยาวชนในท้องถิ่น
    •     เลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก โดยมีกิจกรรมดังนี้
    1.     การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
    2.     จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
    3.     จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป
    8.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
    •     กองสูตินารีเวชกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า 
    •     เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่ 
    •     ใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” 
    •     ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์ 
    •     มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย  
    •     โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรส
    •     จะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่
      9.โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก 
    •     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
    1.     สถานศึกษา รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    2.     จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้เข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
    3.     ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรม
    4.     สนับสนุนโครงการต่างๆที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
    5.     จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
    โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
    1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
    •     ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง 
    •     เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ 
    •     จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ 
    •     พ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล 
    •     การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
    2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย
    •     ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
    •     ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
    1.     สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ 
    2.     จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
    3.   . ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก  
    3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
    •     การจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้ โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม
    •     โครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ 
    •     เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี 
    •     ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก 
    •     ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม  
    •     สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ 
    •     รู้จักใช้วัวดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์ 
    •     สอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี
    4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
    •     จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
    •     วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูก
    •     สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น 
    •     โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ 
    •     ก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับเด็ก 
    •     เมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผล
    โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
    •     เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว 
    •     จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา 
    •     โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    1.     เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
    2.     ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
    3.     ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
    4.     เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

           กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ
        1. ความพร้อมที่จะเรียน  พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
        2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ

    1.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
    •     มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ 
    •     ดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) 
    •     โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง  ภายใต้คำนิยาม 
    •     “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) 
    •     “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ 
    •     “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
        - ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
        - ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
        - สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
        - ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ

    2.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
    •     เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี 
    •     พ่อแม่มีรายได้น้อย 
    •     และบริการด้านสังคม สำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ 
    •     พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
    •     โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
        - สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
        - เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
        - ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ

    3.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
    •      เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่   
    •      คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ 
    •      เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก 
    •      และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก 
    •      เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
    •     โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
    4.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
    •     ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 
    •     ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก 
    •     ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ 
    •     โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก  
    •     โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
    5.โครงการ Brooklyne Early Childhood
    •     เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก
    •     ดำเนินการโดย Brooklyne Public School 
    •     ได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก 
    •     จัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง 
    •     มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้ 
    •     ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี 
    •     และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป 
    •     ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม

    โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
    •     ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย 
    •     โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย
    •     และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
    •     ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน  
    1.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
    •     พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน 
    •     มีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรอง
    •     สามารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้หนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ 
    •     ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”

    2.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
    •     โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง 
    •     เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง 
    •     มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสาร
    •     เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครองตลอดจนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผน จัดทำหลักสูตร การพัฒนาทักษะ การประเมินผลการเรียน และการประเมินผลการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง   

    3.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
    •     ให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ 
    •     รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่าย
    •     โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา” 
    •     พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง 
    •     การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ 
    •     การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก 
    •     การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด

    โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
    •     มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center)
    •     เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี 
    •     เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป 
    •     จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี 
    •     มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน   
    •     ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก      

    โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
    •     โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
    •     นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก 
    •     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
    •     ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
      ภายในถุงประกอบด้วย
    1.     หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
    2.     หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
    3.     ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
    4.     แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
    5.     บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
    6.     รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
    7.     รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก

    โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
    •     เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” 
    •     มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น 
    •     โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน  
    •     โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง 
    •     โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 
    •     ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย 
    •     ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก
    •     สามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน
    •     โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น



    คำถามท้ายบท
      1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
    ตอบ เพื่อให้ผูู้ปกครองเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก เรื่องพัฒนาการ การดูแล
     
     2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
    ตอบ
      3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ 
    ตอบ
      4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ
      5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ


    บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

    วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559

    ความรู้ที่ได้รับ


    เกมการสื่อสาร





    1. เกมสื่อความหมาย : ตัวแทน 1 คน อ่านประโยคและทำท่า ส่งต่อจนครบ 5 คน
    2. เกมทายคำ: ตัวแทน 1 เป็นคนใบ้ 2 เป็นคนทาย 3 เป็นคนชูคำด้านหลัง
    3. เกมพรายกระซิบ : ตัวแทน 1 คน จำประโยค และบอกต่อจนครบ 5 คน 
    4. เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร่ อย่างไร กับใคร : ตัวแทน 6 คน เขียน คนละ 5 ข้อ



    ความหมายของการสื่อสาร

    การสื่อสาร  (Communication) : คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา

    ความสำคัญของการสื่อสาร

    • ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
    • ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
    • ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
    • ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
    • ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

    รูปแบบของการสื่อสาร

    • รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
    • รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
    • รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
    • รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
    • รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 
    • รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
    • รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
    • รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
    • รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
    • รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 

    องค์ประกอบของการสื่อสาร
    1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
    2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) 
    3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media) 
    4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers) 
    5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

    สื่อ : ใช้วิธีพูด เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพสาร : คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

    วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
    1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
    2. เพื่อความบันเทิงใจ
    3. เพื่อชักจูงใจ

    ขอบข่ายครอบคลุมลักษณะการสื่อสารของมนุษย์ 3 ลักษณะ คือ
    3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
    3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) 
    3.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

    การสื่อสารกับตนเอง

    • การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร
    • การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
    • เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
    • บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
    • บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
    • อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ

    การสื่อสารระหว่างบุคคล

    • บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
    • เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    • อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
    • สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น


    การสื่อสารสาธารณะ

    • มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
    • มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
    • เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
    • เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  การอมรม การสอนในชั้นเรียน
    • การสื่อสารมวลชน

    ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง

    ออเออร์บาค (Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้

    • ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
    • ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
    • ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
    • การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
    • การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
    • ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
    • การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

    ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

    • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
    • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
    • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
    • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
    • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
    • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
    • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย


    พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
    • ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
    • ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
    • อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ  
    • การจูงใจ คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
    • การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
    •  ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
    • ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร

    • ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
    • ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
    • ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
    • ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
    • เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
    • รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
    • ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
    • อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
    • ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น


    7 C กับการสื่อสารที่ดี

    • Credibility ความน่าเชื่อถือ 
    • Content เนื้อหาสาระ 
    • Clearly ความชัดเจน 
    • Context ความเหมาะสมกับโอกาส 
    • Channel ช่องทางการส่งสาร 
    • Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน 
    • Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร

    คุณธรรมในการสื่อสาร

    • คุณธรรม คือ ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
    • ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
    • เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
    • เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้อ่าน
    • เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
    • ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
    • ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
    • ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ




    คำถามท้ายบท
    1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
    ตอบ  กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา ความสำคัญทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย

    2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
    ตอบ เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน

    3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
    ตอบ การสื่อสารโดยการให้ความหมายอย่างเข้าใจ ของลาสแวลล์




    4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
    ตอบ 
    • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
    • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
    • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
    • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
    • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
    • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
    • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

    5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

    ตอบ  
    • ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
    • ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข 
    • อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งทางบวกและลบ  
    • การจูงใจ คือ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 
    • การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล
    • ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ 
    • ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การนำไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำเกมไปใช้สำหรับเข้าสู่บทเรียนสามารถใช้ทฤษฏีมาอ้างอิงพฤติกรรมผู้ปกครองเพื่อการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับเด็กให้ผู้ปกครองได้เข้าใจอย่างถูกต้อง

    ประเมินผล
    ตนเอง : ได้ร่วมกิจกรรมและเกมที่อาจารย์นำมา สนุกสนานมาก
    เพื่อน : ร่วมกิจกรรมกันอย่างตั้งใจ 
    อาจารย์ : มีเกม กิจกรรม ให้มีส่วนร่วมทั้งชั้นเรียน 


    บันทึกการเรียนครั้งที่3
    วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2559

    ****อาจารย์ติดประชุม****