วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
 วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559


การเขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปปกครอง





ส่วนประกอบการเขียนโครงการ
ชื่อโครงการ: เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้ทราบในเบื้องต้นถึงโครงการที่จะดำเนินการ ชื่อโครงการควรเป็นชื่อที่ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย
ผู้รับผิดชอบโครงการ: เป็นการบ่งบอกหัวหน้าโครงการหรือผู้ที่รับผิดชอบโครงการ ควรจะระบุชื่อบุคคล รวมทั้งตำแหน่งและหน้าที่ ไม่ควรระบุเป็นชื่อของหน่วยงานเพียงอย่างเดียวเพราะอาจเกิดความยากลำบากในการติดตามหาผู้รับผิดชอบโครงการ
หลักการและเหตุผล: เป็นการอธิบายถึงที่มา ปัญหา และเหตุจำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำโครงการ โดยมีข้อมูลมาสนับสนุน นอกจากนั้นควรชี้แจงถึงผลที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการด้วย
วัตถุประสงค์: คือ สิ่งที่ต้องการจะได้รับหรือผลงานที่ได้จากการดำเนินโครงการ โดยวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่มีความเฉพาะเจาะจง
เป้าหมาย: คือ ผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการซึ่งเป็นการกำหนดในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ และอาจจะเป็นจำนวนผู้ที่เข้าร่วมโครงการหรือจำนวนผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการก็ได้
วิธีดำเนินการ: เป็นสิ่งที่ระบุถึงลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมย่อยต่างๆ ของโครงการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
ระยะเวลาดำเนินการ: เป็นการบ่งบอกถึงระยะเวลาการดำเนินโครงการที่ตั้งไว้ โดยมีจุดบอกเวลาตั้งแต่เริ่มต้นและสิ้นสุด
งบประมาณ: เป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการ โดยอาจจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าดำเนินโครงการ ค่าบริหารจัดการโครงการ ค่าติดตามและประเมินผลเป็นต้น นอกจากนั้นยังต้องระบุแหล่งที่มาของงบประมาณที่ได้รับด้วยว่ามาจากแหล่งใด
สถานที่: เป็นการระบุสถานที่หรือพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ โดยจำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนและเจาะจง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ: คือสิ่งที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมถ้าดำเนินโครงการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยต้องระบุให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
การประเมินผล: เป็นการระบุวิธีการประเมินหรือประเด็นที่ควรประเมิน เพื่อจะได้ทราบว่าโครงการที่จัดทำนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้
   การทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็ยสิ่งสำคัญมากเราจะได้รู้รูปแบบและวิธีทำและการเข้าหาผู้ปกครอง

ประเมิน

ตัวเอง
 ตั้งใจทำงานตามที่คุณครูสั่ง

เพื่อน
 ตั้งใจทำกิจกรรมที่ครูสั่งกันอย่างสนุกสนาน และให้ความร่วมมือดี

ครู
 ครูแนะนำวิธีการที่ถูกต้องให้เป็นอย่างดี เนื้อหามีตัวอย่างให้ดู เข้าใจง่าย




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
 วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

      การนำเสนอวิจัย







     งานวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
การศึกษาระดับ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัย  เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปีที่ทำวิจัย พ.ศ. 2554
 ผู้วิจัย สุภาวิณี  ลายบัว

บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 2 ศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
•เพื่อศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา
•เพื่อศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา
•เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริ
พัฒนาการเด็กปฐมวัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำข้อมูลมาเป็นข้อมูลในการให้ความรู้เพิ่มเติม หรือจัดกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพ
การวิจัยทำให้ทราบแนวทางในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1.ขอบเขตด้านประชากร คือ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ระดับชั้น1-2 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนในเขต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จำนวน 9 โรงเรียน จำนวนประชากร 1575 คน
2.ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้ศึกษากิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเด็กสำคัญได้แก่ 
การฝึกอบรม การประชุมผู้ปกครอง การให้การปรึกษา ห้องสมุดสำหรับผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้าน และ
ศึกษาเรื่องความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 ด้าน 

สรุปผลการวิจัย
ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง และมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 10,000 บาท
การศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก ปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้
• ด้านการฝึกอบรม    ภาพโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ด้านการฝึกอบรมเป็นรายประเด็น พบว่าที่มีค่าสูงสุด เช่น การสร้างวินัยให้กับเด็ก, การแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก ฯลฯ โดยครูเป็นผู้ให้ความรู้ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนเคยมีการจัดการอบรมให้ความรู้แก่แก่ผู้ปกครองเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้
•ด้านการประชุมผู้ปกครอง      ภาพรวมโดยรวมของการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการประชุมผู้ปกครอง เป็นรายประเด็น พบว่ามีค่าสูงสุด คือ โรงเรียนเคยมีการจัดการปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
รองลงมาคือโรงเรียนเคยจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองเพื่อดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกัน
ด้านการให้การศึกษา     ภาพโดยรวมของการศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา ในด้านการให้การปรึกษาโดยรวมกันอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยด้านการการปรึกษาเป็นรายประเด็น พบว่ามีค่าสูงสุด โรงเรียนได้ให้การปรึกษาเมื่อผู้ปกครองมีปัญหาเกี่ยวข้องกับตัวเด็กอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
•ควรศึกษาเชิงเปรียบเทียบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยระหว่างโรงเรียนอนุบาลเอกชนกับโรงเรียนอนุบาลของรัฐบาล
•ควรมีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการสร้างรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่มาจากการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับทางโรงเรียนในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองโดยให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นวัฒนธรรมองค์ประกอบพื้นฐานของผู้ปกครอง
•ควรมีการศึกษาปัญหาอุปสรรคและผลการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้น
•ในการวิจัยครั้งนี้ตัวแปรการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนั้นผู้วิจัยได้เน้นเรื่องของรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองดังนั้นในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปอาจจะศึกษาในเรื่องสาระความรู้ที่ทางโรงเรียนจัดให้แก่ผู้ปกครอง

การประยุกต์ใช้
เราสามารถนำวิจัยที่เราทำไปประยุกต์กับการเรียนการสอนของเราได้

ประเมิน
ตนเอง
ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัย และถามข้อสงสัย
เพื่อน
เพื่อนๆทุกคนดูตั้งใจนำเสนอวิจัย และพูดจาดี
อาจารย์
ให้คำแนะนำงานวิจัยของแต่ละกลุ่มและช่วยยกตัวอย่างให้เราเข้าใจได้ง่าย




บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันจันทร์ ที่ 26 กันยายน 2559



งดการเรียนการสอนเนื่องจาก สอบกลางภาค


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันจันทร์ ที่ 19กันยายน 2559



เนื้อหา
  
- รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี  

ข่าวสารประจำสัปดาห์

  เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
- รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
- พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
- กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
- เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
- ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น

รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย

ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง

จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
- เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ

การสนทนา

การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
  • ห้องสมุดผู้ปกครอง

เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

  • ป้ายนิเทศ

ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น


นิทรรศการ
 เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
- นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
- นิทรรศการเพื่อความบันเทิง

มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ 
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
- เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ

การประชุม
เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
- แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
- ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ





การนำไปประยุกต์ใช้
   เมื่อเราเป็นครูแล้วเราสามารถนำไปใช้ได้ในการจัดทำให้ข่าวสารแก่ผู้ปกครอง และสามารถเลือกแต่ละรูปแบบให้เข้ากับโรงเรียนและชุมชนได้

ประเมิน

ตัวเอง
 ตั้งใจทำงานตามที่คุณครูสั่ง

เพื่อน
 ตั้งใจทำกิจกรรมที่ครูสั่งกันอย่างสนุกสนาน และให้ความร่วมมือดี

ครู
 ครูแนะนำวิธีการที่ถูกต้องให้เป็นอย่างดี เนื้อหามีตัวอย่างให้ดู เข้าใจง่าย